นกยูง สายพันธุ์ต่างๆ ประวัติของนก และความรู้เกี่ยวกับนกยูง

นกยูง สายพันธุ์ต่างๆ ประวัติของนก และความรู้เกี่ยวกับนกยูง

Categories :

นกยูง สายพันธุ์ต่างๆ ประวัติของนก และความรู้เกี่ยวกับนกยูง

นกยูง ถิ่นกำเนิดนกยูมีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่รัฐอัสสัมในประเทศอินเดีย ตะวันตกเฉียงใต้ของจีน เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ และเกาะชวาในประเทศอินโดนีเซีย โดยนกยูงไทย (Pavo muticus) ซึ่งเป็นนกยูงชนิดเดียวที่พบได้ในป่าธรรมชาติของประเทศไทย พบกระจายพันธุ์ในภาคเหนือและภาคตะวันตกของประเทศไทย

นกยูงไทย (Green peafowl) นกขนาดใหญ่ตระกูลไก่ฟ้า ทีมีหางสวยๆ และปลายหางจะมีแผ่นขนแบนๆ เป็นวงกลมหรือที่เรียกว่าแววมยุราไว้ใช้สำหรับรำแพนเกี้ยวตัวเมีย ซึ่งคนส่วนใหญ่มักได้ชื่นชมความงดงามของนกยูงในสวนสัตว์ และน้อยคนนักที่จะทราบว่านกยูงในไทยมีกี่ชนิด

ในเมืองไทยบ้านเรามีนกยูงอยู่ 2 ชนิด คือนกยูงเขียวหรือนกยูงไทย และนกยูงฟ้าหรือนกยูงอินเดีย แต่มีเพียงนกยูงเขียวหรือนกยูงไทยเท่านั้น ที่สามารถพบได้ในป่าธรรมชาติของประเทศไทย ซึ่งแพร่กระจายในภาคเหนือและภาคตะวันตกของประเทศไทย

นกยูงเขียวหรือนกยูงไทย ทั้งเพศผู้และเพศเมียมีขนหงอนเป็นพู่ชี้ตรงอยู่บนหัวมีสีเขียวเหลือบ นกยูงเพศผู้จะมีขนบริเวณหัวและคอเป็นขนสั้นๆ เหลือบสีเขียวแกมน้ำเงิน สีของผิวหนังบริเวณหน้าของนกยูงไทยทั้งสองข้างจะมีสีฟ้าและมีสีดำคาดบริเวณตา บริเวณแก้มมีสีเหลือง ขนคอและบริเวณหน้าอกและขนส่วนบนของหลัง มีปลายขนลักษณะป้านกลม ตรงกลางขนเหลือบ สีน้ำเงินแก่ล้อมรอบด้วยสีเขียวและสีทองแดง ตรงขอบของกลุ่มขนปีกในเพศผู้มีขอบเหลืองเขียวแกมดำมองดูคล้ายเกล็ดปลา หลังเป็นขนสีเหลือบเขียวตรงกลางเป็นสีทองแดงแกมดำ นกยูงเพศเมียมีขนาดเล็กกว่า สีขนโดยทั่วไปไม่สดใสเท่าเพศผู้และมีเดือยสั้นกว่าเดือยของเพศผู้มาก นอกจากนั้นบริเวณขนต่างๆ ของเพศเมียมักมีสีน้ำตาล ดำหรือสีน้ำตาลแดงแทรกเป็นคลื่น จึงมองเห็นเป็นลายคลื่นทั่วทั้งลำตัว

ส่วนทางด้านนกยูงอินเดียจะเป็นนกยูงที่มีขนาดเล็กกว่านกยูงเขียวหรือนกยูงไทยเล็กน้อย  ขนหงอนจะมีลักษณะเป็นรูปพัด สีของผิวหนังบริเวณหน้าจะมีสีขาว และมีสีดำคาดบริเวณตา ขนบริเวณคอและอกมีสีน้ำเงิน ขนบริเวณปีกเป็นลายสีขาวสลับกับสีดำ ขนตามลำตัวจะมีสีเขียวอมน้ำเงิน ด้านหลังเป็นเกล็ดคล้ายใบไม้ ในเพศเมียนั้นจะมีขนาดเล็กกว่าเพศผู้ ขนตามลำตัวเป็นสีน้ำตาล ขนคอและหลังจะมีสีอ่อนกว่าเพศผู้

นกยูงไทยเป็นนกที่กินได้ทั้งพืชและสัตว์ ได้แก่ พวกเมล็ดหญ้า เมล็ดของไม้ยืนต้น ธัญพืช ผลไม้สุกที่หล่นจากต้น ยอดอ่อนของหญ้า แมลง ตัวหนอน ไส้เดือน งู และสัตว์ขนาด เล็ก หากินตามพื้นดินเช่นเดียวกันกับไก่ฟ้าและไก่ป่า และในขณะเดียวกันนกยูงก็ตัวช่วยในการกระจายพันธุ์พืชไปด้วย

ส่วนใหญ่นกยูงอาศัยอยู่ที่บริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ด้วยความที่นกยูงตัวใหญ่และมีขนยาวสวยงาม เลยตกเป็นเป้าหมายในการล่า เพื่อนำมาเลี้ยง เอาหางไปทำเครื่องประดับ อีกทั้งป่าแบบที่นกยูงชอบอยู่ก็ถูกบุกรุกทำลายจนเหลือน้อยเต็มที นกยูงไทย เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองชนิดหนึ่งของประเทศไทย

นกยูง

นกยูง ถิ่นกำเนิดของนกยูง

นกยูงมีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่รัฐอัสสัมในประเทศอินเดีย ตะวันตกเฉียงใต้ของจีน เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ และเกาะชวาในประเทศอินโดนีเซีย โดยนกยูงไทย (Pavo muticus) ซึ่งเป็นนกยูงชนิดเดียวที่พบได้ในป่าธรรมชาติของประเทศไทย พบกระจายพันธุ์ในภาคเหนือและภาคตะวันตกของประเทศไทย

ลักษณะนกยูง
นกยูงเป็นนกที่มีขนาดใหญ่ นกยูงไทยตัวผู้มีความยาวประมาณ 2.5-3 เมตร เมื่อรวมหางแล้ว ตัวเมียมีความยาวประมาณ 1.1 เมตร มีหงอนเป็นพู่สูงอยู่บนหัว นกยูงตัวผู้จะมีหงอนที่ใหญ่และสวยงามกว่านกยูงตัวเมีย ตัวผู้มีขนลำตัวเป็นสีเขียวสด บริเวณปีกสีฟ้า ปลายปีกสีน้ำตาล เข้ม หัวมีหงอนขนงอกชี้ขึ้นเป็นกระจุกสีเขียวมันวาว ด้านบนศีรษะตั้งแต่ด้านหลังจนถึง หน้าผากจรดโคนจงอยปากมีขนละเอียดขดเป็นปุ่มเล็กๆอัดกันแน่นสีน้าเงินเข้มเป็นมัน ใบหน้า ทั้งสองข้างเป็นแผ่นหนังมีสีฟ้าและสีเหลืองล้อมลูกตาและหูตามลาดับ ขนคลุมหางด้านบนยาว มากที่ปลายมีแผ่นขนแบนๆเป็นวงกลมหรือที่เรียกว่าแววมยุราซึ่งจะใช้สาหรับราแพนเกี้ยวตัว เมีย

นกยูงมีพฤติกรรมอย่างไรมาดูกัน

นกยูงเป็นสัตว์สังคม ชอบอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก ๆ ประมาณ 5-10 ตัว โดยเพศผู้จะเป็นผู้ดูแลฝูง นกยูงมีพฤติกรรมการผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อน โดยตัวผู้จะรำแพนเพื่อเกี้ยวพาราสีตัวเมีย ตัวเมียจะวางไข่ประมาณ 5-10 ฟอง ไข่นกยูงมีสีขาวอมน้ำตาล ใช้เวลาฟักไข่ประมาณ 28 วัน นกยูงเป็นสัตว์กินพืช อาหารหลักของนกยูงคือเมล็ดพืช แมลง และสัตว์เล็ก 

การอนุรักษ์นกยูง
นกยูงไทยมีสถานะเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองชนิดหนึ่งของประเทศไทย เนื่องจากประชากรนกยูงลดลงอย่างต่อเนื่อง จากสาเหตุต่าง ๆ เช่น การล่าเพื่อเอาขนหาง การสูญเสียที่อยู่อาศัย และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การอนุรักษ์นกยูงไทยจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินมาตรการต่าง ๆ เพื่ออนุรักษ์นกยูงไทย เช่น การจัดทำพื้นที่คุ้มครอง การเพาะพันธุ์นกยูง และการให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับนกยูงไทย

——————————————————————————————————————–

เครดิตเว็บไซต์ ufarich777

อ่านวิธีเลี้ยงสัตว์เลี้ยงอื่นๆ ติดตามได้ที่ quadrone